วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน (สำหรับนักศึกษา อังคาร 15.30-18.50 น)

ปัจจุบันนี้มนุษย์เราได้รับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาตามลำดับ การดำรงอยู่ในโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องเรียนรู้และก้าวให้ทัน นักศึกษาสืบค้นเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ สมัยใหม่ในปัจจุบัน แล้วสรุปความรู้เป็นข้อ ๆ ทุกสัปดาห์

4 ความคิดเห็น:

Thongin Waidee กล่าวว่า...

10 สุดยอดแนวโน้มเทคโนโลยีที่เป็นกลยุทธ์ของปี 2015 ที่ Gartner ระบุว่ามีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อองค์กรในอีก 3 ปีข้างหน้า ปัจจัยที่เป็นผลกระทบมีตั้งแต่ การหยุดชะงัก ของธุรกิจ ของผู้ใช้งานหรือของฝ่ายไอที ความต้องการเงินลงทุนขนานใหญ่ หรือ ความเสี่ยงจากการเป็นผู้ที่ล้าหลัง เทคโนโลยีต่อไปนี้จะส่งผลต่อแผนงานและโครงการระยะยาวขององค์กร
"แนวโน้มเทคโนโลยีทั้ง 10 นี้ องค์กรไม่อาจละเลยที่จะบรรจุไว้ในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้ แม้ว่าองค์กรจะไม่ถึงขั้นต้องรับเอาแนวโน้มทุกอย่างไปและลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ก็ควรจะพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบภายใน 2 ปีข้างหน้า"
สุดยอดแนวโน้มเทคโนโลยีทั้ง 10 ประจำปี 2015 นี้ครอบคลุม 3 หัวเรื่องใหญ่คือ การหลอมรวมกันของโลกจริงและโลกเสมือน การมาถึงของความเฉลียวฉลาดที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และ ผลกระทบทางเทคโนโลยีของการเคลื่อนสู่ธุรกิจดิจิตอล
10 สุดยอดแนวโน้มเทคโนโลยีที่เป็นกลยุทธ์ของปี 2015 ได้แก่
1. Computing Everywhere แม้ว่าอุปกรณ์พกพาจะยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง Gartner พยากรณ์ว่าต่อจากนี้จะมุ่งเน้นที่การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายทั้งด้านเนื้อหาและสภาพแวดล้อมมากกว่า
2. The Internet of Things ข้อมูลที่พรั่งพรูจากอุปกรณ์ดิจิตอลจะก่อให้เกิดการใช้งาน 4 รูปแบบคือ การบริหารจัดการ การคิดค่าใช้จ่าย การควบคุม และ การขยายผล ซึ่งรูปแบบการใช้งานทั้ง 4 จะประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตได้ 4-5 ชนิด คือ สินทรัพย์ บริการ บุคคล สถานที่ และ ระบบ
3. 3D Printing คาดกันว่ายอดจำหน่ายเครื่องพิมพ์ 3 มิติซึ่งมีราคาย่อมเยาว์จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี 2015 ก่อให้เกิดขยายการใช้งานไปตามอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่น ชีวการแพทย์ การทำสินค้าต้นแบบ และ การผลิดปริมาณน้อยๆ
4. Advanced, Pervasive and Invisible Analytics การวิเคราะห์เชิงลึกหรือ Analytics จะได้เป็นพระเอกเนื่องด้วยมีการผลิตข้อมูลจากระบบต่างๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กรเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณมหาศาล องค์กรจะต้องสามารถบริหารจัดการและกลั่นกรองข้อมูลให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์จริงๆ กับแต่บุคคล
5. Context-Rich Systems ระบบที่ปราดเปรื่องรอบรู้ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อัจฉริยะและการวิเคราะห์เชิงลึก จะเป็นระบบที่สามารถแจ้งเตือนไปยังสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวและสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
6. Smart Machines จักรกลอันชาญฉลาด เช่น รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ล้ำสมัย ผู้ช่วยเสมือน จะถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ยุคของผู้ช่วยที่เป็นจักรกล จักรกลอันชาญฉลาดจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไอทีไปอย่างสิ้นเชิง
7. Cloud/Client Computing การผนวกเข้ากันของการประมวลผลคลาวด์กับอุปกรณ์พกพาจะกระตุ้นการเติบโตของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ประสานงานจากส่วนกลาง Cloud เป็นการประมวลผลสมัยใหม่ที่สามารถขยับขยายได้และเป็นบริการด้วยตนเอง ต่อไปซอฟต์แวร์ทั้งที่ใช้ภายในและภายนอกองค์กรจะใช้การประมวลผลสมัยใหม่นี้
8. Software-Defined Applications and Infrastructure การใช้ชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งไปกำหนด infrastructure ต่างๆ เช่น network, storage, data center และความปลอดภัย จะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อองค์กรเพื่อให้มีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจดิจิตอล ธุรกิจดิจิตอลมักมีการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการอย่างรวดเร็วจึงจะต้องมีการขยับขยายเพิ่ม หรือ ลด ขนาดของระบบอย่างรวดเร็วด้วย
9. Web-Scale IT เป็นการประมวลผลทั่วโลกที่อาศัยขีดความสามารถของผู้ให้บริการ cloud ขนาดใหญ่ จะมีองค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่ิอยๆ ที่ได้เริ่มคิด ลงมือ และสร้างซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ยักษ์อย่าง Facebook
10. Risk-Based Security and Self-Protection แม้ว่าถนนดิจิตอลแห่งอนาคตทุกๆ สายจะมุ่งสู่ประเด็นความปลอดภัย แต่ในโลกของธุรกิจดิจิตอลประเด็นความปลอดภัยก็ไม่อาจเป็นสิ่งกีดขวางที่จะหยุดยั้งความก้าวหน้าได้ องค์กรจะรับรู้ว่าไม่มีระบบอะไรที่จะปลอดภัย 100 % เมื่อองค์กรยอมรับเช่นนี้แล้วก็จะประเมินความเสี่ยงเข้มข้นขึ้นและเพิ่มเครื่องมือในป้องกันความปลอดภัยมากขึ้น
ที่มา:
www.gartner.com
http://www.whitespace-cloud.com/

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวนัยนา นพพิบูลย์
รหัส 56191880244
สาขาการประถมศึกษา
เทคโนโลยีดาวเทียมกับการจัดการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลนั้น เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเลือกเรียนและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของตนเอง ระบบการจัดการศึกษาทางไกลจึงต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนและมีคุณภาพเป็นที่แน่ใจว่าผู้เรียนจะเกิดผลสัมฤทธ์ทางการเรียนตามมาตรฐานทางวิชาการ เช่นเดียวกับการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ
อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ที่เริ่มมีการให้ปริญญาภายนอกของมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการสอนทางไปรษณีย์และได้พัฒนาใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้สื่อประสม หลังจากนั้นการศึกษาทางไกลก็ได้ขยายแนวความคิดกระจายออกไปยังภูมิภาค
จากการที่ประเทศไทย มีดาวเทียมแห่งชาติ คือ ไทยคม 1 ซึ่งมีช่องสัญญาณในระบบ KU-Band และมีระบบรับส่งสัญญาณด้วย Digital Technology ซึ่งมีประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณได้คมชัดกว่าระบบอื่น บริษัทชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด โดยผ่านมูลนิธิไทยคม เห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำหรับจัดการศึกษาทางไกล จึงได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างมูลนิธิไทยคม และกระทรวงศึกษาธิการ ตามข้อตกลงมูลนิธิไทยคม จะให้ความช่วยเหลือแก่กระทรวงศึกษาธิการ ในการใช้ดาวเทียมเพื่อการศึกษาทางไกล จำนวน 1 ช่องสัญญาณ พร้อมทั้งสนับสนุนชุดอุปกรณ์รับ
การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2518 โดยแบ่งลักษณะของการพัฒนาการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาทางไกลระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา อาจกล่าวได้ว่า กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้รับผิดชอบการศึกษาทางไกล ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งแต่เดิมกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดการศึกษาทางไกล โดยมีสื่อพิมพ์เป็นสื่อหลัก และเสริมด้วยรายการวิทยุกระจายเสียง ให้แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนได้ฟังและใช้บทเรียนทางวิทยุบ้าง ไม่ได้ใช้บ้าง บางคนอ้างว่า ไม่มีเวลาที่จะติดตามฟัง บทเรียนทางวิทยุมีเฉพาะเสียงอย่างเดียว ไม่ค่อยน่าสนใจฟัง ในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์มีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ สื่อที่มีทั้งภาพและเสียงมีข้อได้เปรียบในการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้ชัดเจน สื่อโทรทัศน์ส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจโฆษณา และความบันเทิง การเช่าเวลาจากสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และที่สำคัญทางสถานีไม่อาจจะจัดสรรเวลาให้ตามที่หน่วยงานทางการศึกษาต้องการได้
การศึกษาผ่านดาวเทียมครั้งแรก คือ เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 12สิงหาคม 2537 โดยออกอากาศในระบบส่งตรงถึงผู้ชม (Direct to home : DTH) การออกอากาศในระบบนี้เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ขึ้นสู่ดาวเทียม จากนั้นสัญญาณจะถูกส่งจากดาวเทียมมายังอุปกรณ์รับสัญญาณซึ่งติดตั้งอยู่ที่จุดติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ ชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
1. จานรับสัญญาณดาวเทียม (Dish Antenna) พร้อมตัวรวมสัญญาณ (Low Noise Block and Feedhorn : LNBF)
2. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (Integrated Receiver and Decoder : IRD)
3. เครื่องรับโทรทัศน์ (T.V. Monitor)

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอนุชิฎา อินทร์ตา
รหัสนักศึกษา 56191880219
สาขา การประถมศึกษา

ระบบ 4G คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ระบบ 4G คือระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูงยุคที่ 4 ซึ่งเป็นระบบที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วมาก สูงสุดถึง 100 Mbps
ในขณะประเทศไทยกำลังตื่นเต้นกับระบบ 3G คลื่น 2100 MHz ที่เพิ่มประมูลไปเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาต 3 ราย คือ DTAC, AIS และ True ปรากฏว่า DTAC และ AIS นำคลื่นที่ประมูลได้ไปสร้างระบบ 3G ในขณะที่ TRUE นำคลื่นดังกล่าวไปทำระบบ 4G
ระบบ 4G
ระบบ 3G นั้นสามารถทำให้เราใช้ระบบไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี บางระบบความเร็วสูงถึง 72 Mbps แต่ว่าระบบ 3G ทั่วไปที่เราใช้อยู่ยังไม่สามารถทำงานบางอย่างได้ดีนัก เช่น การรับชมวิดีโอระดับความละเอียดสูง (High Definition) การเรียนการสอนทางไกล และการผ่าตัดผ่านระบบวิดีโอความละเอียดสูง เป็นต้น
ดังนั้นระบบ 4G ได้เข้ามาช่วยเสริมระบบ 3G ในจุดที่ยังทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรนั่นเอง
ระบบ 4G ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ระบบย่อย คือระบบ LTE (Long Term Evolution) และระบบ Wi-MAX ซึ่งระบบ LTE ได้รับความสูงกว่าและใช้กันทั่วโลก ในขณะที่ระบบ Wi-MAX นิยมใช้กันในบางประเทศเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และบังกลาเทศ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/ระบบ-4g-คืออะไร-มีประโยชน์อย่างไร/

yupinrut hanprakhon กล่าวว่า...

เทคโนโลยีการสื่อสารดาวเทียม


เทคโนโลยีดาวเทียมกับการสื่อสารยุคใหม่ประเทศไทยเริ่มใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีการติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศไทยกับเมือง โฮโนลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีถัดมา พ.ศ. 2511 ก็มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมถ่ายทอดสดรายการโทรทัศน์จากสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย การสื่อสารผ่านดาวเทียม มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงคมนาคมจึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมทุนรับสัมปทานดำเนินการโครงการดาวเทียมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานดาวเทียมสื่อสาร มีระยะเวลาตามสัญญา 30 ปี วันที่ 18 ธันวาคม 2536 บริษัท เอเรียลสเปช ของฝรั่งเศส ซึ่งรับจ้างในการ จัดส่งดาวเทียมก็นำดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย คือ ไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียม ไทยคม 2 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย ดาวเทียมไทยคม 3 ส่งขึ้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทย ในยุคข่าวสาร ข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และการติดต่อส่งข้อมูลเพื่อความมั่นคงของชาติภายใต้การดูแลรับผิดชอบทุกขั้นตอนโดยคน

การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึม

หลักการเขียนโปรแกรม องค์ประกอบของประโยคคำสั่ง ชนิดของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ โครงสร้างคำสั่งแบบลำดับ โครงสร้างคำสั่งแบบวนซ้ำ การ...