วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เนื้อหา
1. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
2. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล เช่น ผู้รับ, ผู้ส่ง, สื่อหรือช่องทาง, สารหรือข้อมูลที่ส่ง, ระเบียบวิธีการส่ง (Protocol)
3. สัญญาณในการรับส่งข้อมูล เช่น อนาลอก, ดิจิตอล...

4. รูปแบบการสื่อสารข้อมูล เช่น Simplex, Haft-Duplex, Duplex
5. ความหมายของระบบเครือข่าย
6. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร
7. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาด เช่น LAN, MAN, WAN
8. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการให้บริการและการประมวลผล เช่น peer-to-peer, Client/Sever
9. รูปแบบเครือข่าย (Network Topology) เช่น BUS, STAR, RING,
10. อุปกรณ์การกระจายสัญญาณเครือข่าย เช่น Network Interface Card, Bridge, Hub, Switch, Gateway, Router
11. สื่อรับส่งสัญญาณเครือข่ายแบบไร้สาย เช่น สัญญาณวิทยุ, สัญญาณไมโครเวฟ, สัญญาณดาวเทียม
12. สื่อรับส่งสัญญาณเครือข่ายแบบใช้สาย เช่น สาย Coaxial และอุปกรณ์เข้าหัวสาย, สาย Twisted Pair และหัวต่อ RJ-45, สาย Fiber Optic และอุปกรณ์เข้าหัวสาย
13. วิธีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเตอร์เน็ต

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

1.การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง
2.. ผู้ส่ง เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
3. สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)
เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล
4.การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
5.ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
6.ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า Workgroup เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
7.เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth
8.เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้
9.. โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)
โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)
โครงสร้างแบบริง (Ring Network)
โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network)
10.องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Network Interface Card หรือ Adapter Card เป็น แผงวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่ส่งออกและรับเข้า ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับตัวกลางในการสื่อสาร (Media) ให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณที่จะส่งไปบนสายสัญญาณ เพื่อส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับได้
11.สื่อกลางไร้สาย (Wireless media) เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับ และผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย มีดังนี้
1. อินฟราเรด (Infrared)
2. คลื่นวิทยุ (Radio wave)
3. ไมโครเวฟ (Microwave)
4. ดาวเทียม (satilite)
12.สาย UTP STPสาย STPRJ-45
หัว RJ-45
1. สายคู่บิดเกลียว
1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีฉนวนโลหะหุ้ม (Unshield Twisted Pairs)
2. สายคู่บิดเกลียวชนิดมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pairs)2. สายโคแอกเชียล (Coaxial)
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง
13.การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation

Unknown กล่าวว่า...

1. การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
2.ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร
3.การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
4. รูปแบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
4.1.การส่งข้อมูลแบบไม่ประสานจังหวะ (asynchronous transmission)เป็นวิธีการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูล โดยข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่มีจังหวะการส่งข้อมูล
4.2.การส่งข้อมูลแบบประสานจังหวะ (synchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีลักษณะเป็นกลุ่มของข้อมูลที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นจังหวะ โดยใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวบอกจังหวะ
5.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ
6. 1. การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
2. การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย
3. การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย
4. สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ
7. - LAN (Local Area Network): หรือเครือข่ายท้องถิ่น
- WAN (Wide Area Network): หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
8. 1. การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (centralized processing)
การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลางเป็นการประมวลผลข้อมูลที่เซิร์ฟเวอร์
2. การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (client/server processing)
การประมวลผลรูปแบบนี้เป็นรูปแบบการประมวลผลข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ
9. 1. LAN ( Local Area Network )
หมายถึง ระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้น อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 กิโลเมตร
ระบบเครือข่ายประเภทนี้ มักเป็นที่นิยมใช้ ในบริษัทหรือองค์กรขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากใช้งบประมาณในการสร้างและดูแลรักษาน้อย
2. WAN ( Wide Area Network )
หมายถึง ระบบเครือข่าย ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นอยู่ห่างกันมากกว่า 5 กิโลเมตร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น อาจจะอยู่กันคนละเมืองหรือคนละประเทศเลยก็ได้
ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้กับบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสาขาย่อย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ระบบเครือข่าย Internet เป็นต้น
10.การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card)
สายสัญญาณหรือสายเคเบิล
สวิตซ์ (Switch)
โมเด็มเราเตอร์ หรือ DSL (Digital Subscriber Line) Modem Router
11.ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
คลื่นวิทยุ (Radio wave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
ดาวเทียม (satilite) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิว โลก
12.สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นสายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน
13.การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation


การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึม

หลักการเขียนโปรแกรม องค์ประกอบของประโยคคำสั่ง ชนิดของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ โครงสร้างคำสั่งแบบลำดับ โครงสร้างคำสั่งแบบวนซ้ำ การ...